Stack to Pot Ratio คณิตศาสตร์พื้นๆแค่ใช้เป็นก็เก่งขึ้นได้ในพริบตา

Stack to pot ratio (SPR) หรือ อัตราส่วนหน้าตักเทียบกับราคาพอท เป็นหลักการจากหนังสือ Professional No-Limit Hold’em: Volume I โดย Ed Miller โดยในบทความนี้จะอธิบายเพียงพื้นฐานคร่าวๆที่สามารถนำไปใช้จริงได้ หากอยากอ่านทฤษฎีแบบละเอียดก็ขอแนะนำให้อ่านเพิ่มเติมในหนังสือ

1. SPR คืออะไร

SPR คือ อัตรส่วนราคาหน้าตัก (Stack Size) หารด้วยราคาพอท (Pot) ในช่วง Flop

สมมติใน Cash Game $1/$2 เรา Raise Pre-flop $6 จาก MP มี BTN Call ตามมาคนเดียว

ถ้าทั้งเราและอีกฝ่ายมีหน้าตักเริ่มต้น 100$ ค่า Stack to pot ratio จะเป็น

  • $94 : $15(มาจาก 1+2+6+6)
  • SPR = 100/15 = 6.3

หรือพูดได้อีกอย่างคือ ในสถานการณ์นี้หน้าตักที่ใช้เล่นจริง (Effective Stack Sizes) เหลืออยู่ 6.3 เท่าของราคาพอท

SPR ก็ถือเป็น Risk : Reward ได้เช่นกัน ในเกม No Limit ราคาพอทจะเป็น Reward ส่วนหน้าตักที่ใช้เล่นจริงเป็น Risk เพราะฉะนั้น ยิ่ง SPR สูง ค่า Risk : Reward ก็จะยิ่งสูงตาม

1.1 สมการ 

ภาพจาก: thepokerbank.com

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ SPR

  • คุณควรใช้ราคาตามหน้าตักที่ใช้เล่นจริง (Effective Stack Sizes) เช่น ถ้าคุณมี $150 และอีกฝ่ายมีแค่ $100 หน้าตักที่ใช้เล่นจริงของคุณคือ $100 เพราะคุณจะไม่สามารถได้หรือเสียเงินเกินกว่า $100 หากเจอกับอีกฝ่าย
  • SPR ใช้ได้แค่ตอน Flop เท่านั้น ไม่สามารถใช้ตรง Turn หรือ River ได้

2. ประโยชน์ของ SPR

หากเราควบคุมค่า SPR ได้ เราจะเล่น Post-flop ได้ง่ายขึ้นเยอะ

SPR ต่ำ จะเป็นสถานการณ์ที่เล่นง่าย เนื่องจากพอทจะมีราคาใหญ่และราคาหน้าตักที่ใช้เล่นจริงมีน้อย ทำให้เราจะเจอแต่การตัดสินใจง่ายๆ เช่น ถ้าเราเหลือหน้าตัก $20 เราคงไม่เล่นท่ายากอย่าง Float ตรง Flop หรือ Check-Raise All-in ตรง Turn ในพอทราคา $10 หรอก

SPR สูง จะเป็นสถานการณ์ที่เล่นยากกว่า (ขึ้นอยู่กับไพ่ที่เราถือตรง Flop) เพราะเราจะยังเหลือหน้าตักให้เล่นเยอะได้ตั้งแต่ Flop จนถึง River

เราจึงต้องดูดีๆว่าไพ่ของเราเหมาะสมในสถานการณ์ SPR ต่ำหรือสูง หากเราฝึกเรื่องนี้จนชำนาญ เราจะสามารถทำให้ตัวเองได้เปรียบโดยการ Bet หรือ Raise Pre-flop เพื่อกำหนดค่า SPR ที่เหมาะสมสำหรับไพ่ของเราได้ หรือ หากรู้ว่า SPR ไม่เหมาะเราก็สามารถหลีกเลี่ยงโดยการยอมหมอบทิ้งไปได้

3. ตัวอย่างการนำไปใช้

สมมติคุณมี Top Pair  ใน Flop  ถึงเราจะมี Top Pair แต่บอร์ดมันเชื่อมต่อกันมาก (Wet Board) เราจึงอยากจะ Bet เพื่อให้จบตั้งแต่ Flop ไปเลย

3.1 สถานการณ์ SPR สูง

ถ้าราคาพอทตอนนี้อยู่ที่ $10 และหน้าตักที่ใช้เล่นจริงคือ $200 ค่า SPR ก็จะเป็น 20

สมมติเรา Bet ตรง Flop แล้วโดน Raise ใส่ เราก็จะเริ่มคิดหนักละ เพราะถึงเราอาจจะถือไพ่ที่ดีที่สุดอยู่ (Best Hand) แต่เราก็ไม่อยากลงเงินเยอะเกินไป (Commit) กับไพ่แค่ Top Pair

แล้วถ้าเราจบลงด้วยการ All-in ทั้งตอน Flop หรือ Turn หรือ River โอกาสที่ไพ่ของเราจะยังดีที่สุดอยู่ก็คงมีน้อย จึงทำให้การเล่น Top Pair ในสถานการณ์ที่ค่า SPR กลางหรือสูงจึงยาก

3.2 สถานการณ์ SPR ต่ำ

ถ้าราคาพอทตอนนี้อยู่ที่ $10 และหน้าตักที่ใช้เล่นจริงคือ $30 ค่า SPR ก็จะเป็น 3

สมมติเรา Bet ตรง Flop แล้วโดน Raise ใส่ เราก็เล่นได้สบายๆ จะ Call หรือ Raise All-in ก็ยังได้ เพราะหน้าตักที่ใช้เล่นจริงเหลือนิดเดียวเราจึงไม่ต้องกังวลว่าจะโดน Bet ใส่ตรง Turn หรือ River

ก็จริงที่อีกฝ่ายอาจจะถือไพ่ที่ดีกว่าของเรา แต่ Risk ของเราตรงนี้ต่ำมาก ($30) การที่เราเทหมดหน้าตักไปเลยก็ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจดี

3.3 สรุปตัวอย่างการใช้ 

เราได้เห็นจากสถานการณ์ทั้งสองแล้วว่า ความแกร่งของไพ่เราไม่ได้เปลี่ยนเลย แต่ผลลัพธ์กลับออกมาไม่เหมือนกันเพราะค่า Stack to pot ratio ด้วย SPR แค่ 3 Risk ของเราจึงต่ำเมื่อเทียบกับ Reward ที่จะได้ ทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายในการ Call หรือ All-in ด้วยไพ่อย่าง Top Pair

4. ค่า SPR กับการเลือกไพ่

1. SPR ต่ำ = 0 – 6

2. SPR กลาง = 7-16

3. SPR สูง = 17+

ค่า SPR พวกนี้เป็นตัวบอกคร่าวๆ การจะนำไปใช้ก็จะขึ้นอยู่กับว่าอีกฝ่ายเล่น Loose หรือ Tight และเลขพวกนี้จะไม่มีความหมายถ้าเราไม่รู้ว่าไพ่แบบไหนถึงจะใช้ได้ดีในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

4.1 ไพ่ที่เหมาะสำหรับ SPR ต่ำ

– คู่ที่ใหญ่กว่าบนบอร์ด (Overpair)

– คู่ใหญ่สุดบนบอร์ด (Top pair)

– สองคู่ที่ต่ำสุดบนบอร์ด (Bottom two pair)

ไพ่พวกนี้จะดีในกรณีที่เราไม่อยากเล่นพอทใหญ่ๆ เพราะยิ่งพอทใหญ่เท่าไหร่ โอกาสที่ไพ่เราจะตามก็ยิ่งมาก ค่า SPR ต่ำๆจะช่วยให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นด้วยไพ่พวกนี้และจะทำให้เราได้เงินในระยะยาว

หากเรามีหน้าตักหนาๆ เราควรจะหลีกเลี่ยงการลงเงินเยอะเกินไป (Commit) ด้วยไพ่พวกนี้

4.2 ไพ่ที่เหมาะสำหรับ SPR กลาง

– สองคู่สูงสุดบนบอร์ด (Top two pair)

– ตอง (Sets)

– ไพ่ที่ยังมีโอกาสพัฒนาได้ดี (Good Drawing Hands)

– สีกับเรียง (Flushes and Straights)

ไพ่พวกนี้จะดีกว่ากลุ่มแรกหน่อย และถ้า All-in ด้วยไพ่พวกนี้มากพอ เราก็จะชนะในระยะยาว หากเราทำให้ SPR อยู่ประมาณ 7 ถึง 16 ได้

ยิ่งค่า SPR สูง ยิ่งทำให้เราเล่นไพ่ที่มีโอกาสติด Flop ใหญ่ๆ (Speculative Hands) อย่าง ไพ่คู่ต่ำๆ (Small pocket pairs) และ Suited Connectors ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะถ้าเราติดเราจะมีโอกาสทำเงินจากอีกฝ่ายได้เยอะ

4.3 ไพ่ที่เหมาะสำหรับ SPR สูง

– ตอง (Sets)

– ไพ่ที่มีโอกาสพัฒนาสูงมาก รอได้หลายทาง (Strong Drawing Hands)

– ไพ่สีใหญ่ๆ และ ไพ่เรียงสูงที่สุด (Big Flushes and High-end Straights)

ไพ่พวกนี้แทบจะการันตีได้เลยว่าเราจะชนะพอท ค่า SPR สูงๆ เรายิ่งต้องทำให้มั่นใจว่าไพ่เราอยู่ในกลุ่มพวกนี้หรือถือ Nuts ไปเลยยิ่งดี เราควรจะหลีกเลี่ยงการลงเงินเยอะๆในพอท SPR สูงหากไม่แน่ใจว่าไพ่เรามีโอกาสชนะสูงพอหรือเปล่า

5. เตรียมค่า SPR ให้เหมาะ

ตรงส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับไพ่ของเราตรง Pre-flop ด้วย เราควรมีแผนคร่าวๆแล้วว่าจะทำอย่างไรไพ่ของเราถึงจะมีค่า SPR ที่จะเล่น Post-flop ได้ง่าย ซึ่งมีสองสิ่งที่เราทำได้คือ

  1. ปรับเปลี่ยนราคา Raise ตรง Pre-flop ให้เหมาะเพื่อทำให้ตัวเองมีค่า SPR ที่ดี
  2. ยอมหมอบและไม่เล่นในพอทนั้นไปเลย

5.1 ปรับราคา Raise ตรง Pre-flop

เราไม่สามารถควบคุมค่า SPR ให้ได้เป๊ะตามใจเราทุกสถานการณ์หรอก เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีโอกาสดีก็ควรจะคว้าเอาไว้

ตัวอย่างการ Raise 3BB

คุณถือ  ในเกม 6max NLHE $1/$2 ทั้งคุณและอีกฝ่ายมีหน้าตักใช้เล่นจริง $100

ถ้าคุณ Raise 3BB จาก MP และอีกฝ่าย Call ตามมาจาก CO คุณจะมี SPR 6.3 ($94 : $15) ตรง Flop

ตรงนี้ SPR อาจจะมากไปนิดสำหรับการ All-in ในกรณีที่คุณติด Top Pair ตรง Flop โดยเฉพาะถ้าอีกฝ่าย Tight เขามีโอกาสสูงที่จะ Call ตามมาแค่ไพ่ที่ใหญ่กว่า Top Pair Top Kicker ของเราแน่นอน

ตัวอย่างการ Raise 6BB

ใช้ตัวอย่างเดียวกับข้างบนและมีหน้าตักใช้เล่นจริง $100 เหมือนเดิม

สมมติเรา Raise 6BB ($12) ตอน Pre-flop และอีกฝ่าย Call ตามมา เราจะมี SPR 3.3 ($88 : $27) ตรง Flop

ด้วย SPR ที่ต่ำลง เราจะรู้สึกสบายใจในการ All-in มากขึ้นหากจำเป็นต้องทำ และมีอีกอย่างที่เพิ่มมาคือ เราเปิดโอกาสให้ All-in ตรง Turn ได้มากขึ้นซึ่งช่วยไม่ให้เราไปเจอการตัดสินใจยากๆตรง River

5.2 ยอมหมอบและไม่เล่นในพอทนั้น

ถ้าสมมติคุณถือ ไพ่คู่เล็กๆอย่าง 44 และหน้าตักที่ใช้เล่นจริงมีน้อยพอสมควร เราก็คงใช้ทำกำไรอะไรมากไม่ได้ในการ Raise หรือ Call Raise อีกฝ่าย เพราะค่า SPR ต่ำ

ด้วยค่า SPR ต่ำๆ คุณจะไม่สามารถใช้การเล่นแบบ Implied odds ได้เต็มที่ (จะบลัฟให้อีกฝ่ายหมอบก็ยาก) นั่นหมายความว่า ยิ่งค่า SPR ต่ำ เราควรจะหมอบพวกไพ่คู่เล็กๆและ Suited Connectors

สรุป

สิ่งสำคัญที่ได้จากบทความนี้เลยคือ คุณควรจะวางแผนการเล่นไว้ตั้งแต่เริ่ม ซึ่งสำคัญมากสำหรับการเตรียมความพร้อมตัวเองให้ไปอยู่ในสถานการณ์ที่ง่ายต่อการเล่นและทำเงินได้ดีที่สุด และอีกเรื่องที่ได้เลยก็คือ หน้าตักที่ใช้เล่นจริงจะส่งผลอย่างมากต่อไพ่ที่คุณนำมาเล่น

คุณไม่สามารถควบคุมค่า SPR ให้เหมาะสมกับตัวเองได้เสมอหรอก แต่ถ้ามีโอกาสนั้นเมื่อไหร่ก็ควรจะคว้าเอาไว้ หากคุณฝึกฝนเรื่องการวางแผนและ SPR จนเชี่ยวชาญ เชื่อเถอะว่าคุณจะเล่น Post-flop ได้ง่ายขึ้นซึ่งส่งผลให้คุณทำเงินได้มากขึ้นอีกด้วย

 

อ่านบทความต้นฉบับ

แสดงความเห็น