Linear, Polarized Range คืออะไร

Range คืออะไร

Range คือความเป็นไปได้ของแฮนด์ที่ผู้เล่นจะถือ เพราะเราไม่รู้ว่าคนอื่นถือไพ่อะไร
เช่น เราโดน 4-Bet จากตำแหน่งต้นๆ เราก็จะเดาว่าคู่ต่อสู้ถือ QQ+, AK, AQs
นี่แหล่ะคือสิ่งที่เรียกว่า Range
.
ทำไมต้องเล่นเป็น Range ? ทำไมไม่เล่นเป็นแฮนด์ ?
เพราะ เป็นเกมที่ต่างฝ่ายต่างไม่รู้ว่าใครถืออะไรกันแน่
และถ้าเรารอที่จะเล่นแต่เฉพาะแฮนด์ที่ติดบนบอร์ด
เราจะเสียโอกาสทำกำไรในจุดที่เราไม่ติด แต่เค้าก็ไม่ติดอะไรเหมือนกันไป
โดยเฉพาะบอร์ดที่เราได้เปรียบจนที่คู่ต่อสู้ต้องหมอบเยอะกว่าที่ควร
เมื่อเจอเรา Range
.

ยกตัวอย่าง

LJ Open, Fold to SB, BB calls.
Flop : AK2♠
บนบอร์ดนี้ LJ สามารถ C-bet ได้ทั้ง Range ไม่ว่าจะติดหรือไม่ติด
เพราะ Spot นี้ BB ไม่มี AA, KK (ถ้ามีต้อง ไปแล้ว)
ทำให้ BB เสียเปรียบบนบอร์ดแบบนี้จนต้องหมอบเยอะกว่าปกติ
เมื่อเจอเรา C-bet
.

Range มี 2 ประเภท

1. Linear Range (Merged Range)
2. Polarized Range
.

1. Linear Range (Merged Range)

คือ Range ที่ประกอบไปด้วยแฮนด์ที่ดี แฮนด์กลางๆ และแฮนด์อ่อนๆ ดังรูป
.

.
⦁ AA, AK, AQ (แฮนด์ดีๆ)
⦁ KTs, 77 (แฮนด์กลางๆ)
⦁ 22, K3s (แฮนด์อ่อนๆ)
.
Linear Range ใช้ตอนไหน?
โดยส่วนใหญ่จะได้ใช้ที่ฟลอบ แต่ก็ขึ้นอยู่กับ Board Texture ด้วยเช่นกัน
.

ยกตัวอย่าง

LJ Open, Fold to SB, BB calls.
Flop : A♠ K 5
บอร์ดแบบนี้เราสามารถ C-bet ได้ทุกอย่างใน Linear Range เลย
.
Fold to CO, BTN Open, SB fold, BB calls.
Flop : 8♠ 7 6
บอร์ดแบบนี้ที่ตำแหน่ง BTN เราอาจจะต้องเล่นด้วย Polarized Range
ตั้งแต่ฟลอบจนถึงริเวอร์เลย
.

2. Polarized Range

คือ Range ที่จะมีแต่แฮนด์ดีๆ และแฮนด์อ่อนๆ (ไม่มีแฮนด์กลางๆ)
.

.
⦁ JJ+, AK (แฮนด์ดีๆ)
⦁ A4s, A5s (แฮนด์อ่อนๆ)
.

Polarized Range ใช้เมื่อไหร่?

Range ที่เราจะเบทที่เทิร์นและริเวอร์มักจะเป็น Polarized Range
ซึ่งส่วนใหญ่เราต้องใช้เบทไซซ์ที่ใหญ่ เพื่อให้คู่ต่อสู้หมอบแฮนด์กลางๆและแฮนด์แย่ๆใน Range
แต่ถ้าเราเบทใหญ่ด้วยแฮนด์กลางๆ จะทำให้คู่ต่อสู้คอลมาด้วยแฮนด์ที่ดีกว่า
หมายเหตุ : การเบทใหญ่ไม่ได้หมายความว่าเบทด้วย Polarized Range ทุกครั้ง
บางครั้งเบทใหญ่ก็ทำได้ด้วย Linear Range เช่นกัน
.

ยกตัวอย่าง

Q♠ 9 6 7 4
เมื่อเรา C-bet Flop, Double Barrel Turn ลองมาดู Range ที่ริเวอร์ของเรากัน
Value Range : QQ, 99, 66, Q9, AQ, KK, AA
Range : KJ, KT, JT
จะเห็นว่าแฮนด์ดีๆที่เรามีคือ Value Range และมีแฮนด์ที่ไม่ติดและไม่มี Showdown
อย่าง Bluff Range ที่ Spot นี้
.
เพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ เราลองมาดูการแจกแจงของ กัน (Equity Distribution)
.

.
ภาพนี้เป็นภาพของ Equity ของ Linear Range เราที่ฟลอบ
จะมีตั้งแต่แฮนด์ดีๆที่มี Equity เยอะๆไล่ไปจน Bottom Range
ที่มี Equity น้อย
.
ลองมาดู Equity Distribution ของ Polarized Range ที่ริเวอร์กันบ้าง
.

.
จะเห็นว่า Equity Distribution จะดรอปตรงกลางเป็นเส้นตรงเลย
ที่เป็นแบบนี้เพราะว่า Polarized Range มีแต่แฮนด์ที่ดีสุดๆไปเลย
และแฮนด์ที่แย่ที่สุดไปเลย ซึ่งไม่มีแฮนด์กลางๆ อยู่ใน Range
.

สรุป

Linear Range
– แฮนด์ Premium
– แฮนด์ Medium Strength (กลางๆ)
– แฮนด์ Weak
.
Polarized Range
– แฮนด์ Premium
– แฮนด์ Weak
.

Tips

Polarized Range มีไว้สำหรับ ที่เทิร์นและริเวอร์
ถ้ารู้ว่าคู่ต่อสู้เป็น ก็ไม่จำเป็นต้องมีบลัฟ
.
หมายเหตุ
ในบทความนี้พูดถึงในกรณีที่เราเป็น Aggressor

แสดงความเห็น

บทความที่เกี่ยวข้อง