ICM แค่ใช้ให้คล่องก็เป็นเซียนในทัวร์นาเมนต์โป๊กเกอร์

บทความที่แล้วเราได้ทราบกันไปแล้วว่า ICM คืออะไร ในบทความนี้เราก็จะมาเจาะลึกกันมากขึ้น โดยจะเป็นการนำตัวเลขจาก ICM ที่ได้มาช่วยตัดสินใจว่าควรจะเสี่ยง Call All-in จากผู้เล่นคนอื่นด้วยไพ่แบบไหนได้บ้างในสถานการณ์ที่ใกล้ In the Money ในทัวร์นาเมนต์หรือ SnG ถ้าใครยังไม่ทราบว่า ICM คืออะไรผมแนะนำให้อ่านบทความตอนที่แล้ว(>>คลิก<<)ก่อนนะครับ

ค่า cEV และ $EV

ก่อนอื่นเราต้องทราบความแตกต่างระหว่าง cEV (EV ของชิพ) กับ $EV (EV ของเงินรางวัล) ในทัวร์นาเมนต์กันก่อน หลายๆคนก็คงรู้กันแล้วว่า EV ย่อมาจาก Expected Value

  • cEV เป็นจำนวนชิพในทัวร์นาเมนต์ที่เราคาดว่าจะได้เพิ่มมาหรือเสียไปจากการตัดสินใจครั้งนั้น
  • $EV เป็นจำนวนเงินรางวัลที่เราคาดว่าจะได้เพิ่มมาหรือเสียไปจากการตัดสินใจครั้งนั้น

cEV

EV ของชิพก็เหมือนกับค่า EV ใน Cash Game ทั่วๆไป ตัวอย่างเช่น ถ้าอีกฝ่าย All-in 1000 ชิพด้วย AQ แล้วคุณ Call ด้วย AK โดยเฉลี่ยคุณจะชนะ 480 ชิพทุกครั้งจากการ Call ครั้งนี้

EV ของชิพใช้แค่คำนวณหาง่ายๆว่าเรามีโอกาสจะได้ชิพในทัวร์นาเมนต์เพิ่มโดยเฉลี่ยเท่าไหร่จากการตัดสินใจครั้งนั้น

$EV

$EV จะยากขึ้นมาหน่อย เพราะจะเป็นตัวบอกว่า เราจะมีโอกาสได้เงินเพิ่มมากแค่ไหนจากการเล่นทัวร์นาเมนต์นั้น

เช่น ถ้าคุณ Call All-in ด้วย AK เจอกับ AQ เหมือนตัวอย่างที่แล้วคุณจะได้ชิพเพิ่มเฉลี่ย +480 พอชิพเราเพิ่มมาอีก 480 เราก็ต้องมาคิดใหม่ว่า ชิพที่เพิ่มขึ้นมาจะทำให้เรามีโอกาสทำเงินจากทัวร์นาเมนต์นี้ได้มากขึ้นเท่าไหร่

ซึ่งตรงนี้แหละที่เป็นข้อแตกต่างระหว่างทั้งสอง ถ้ายังงงๆอยู่ก็ไม่เป็นไรนะครับ เดี๋ยวอ่านต่อไปเรื่อยๆจะเริ่มมองเห็นภาพมากขึ้น

การใช้ ICM เมื่อเจอกับสถานการณ์ยากๆ

เวลาเจอกับสถานการณ์ยากๆในทัวร์นาเมนต์ เราต้องหาให้ได้ว่าการ Call ในครั้งนั้นจะช่วยเพิ่มโอกาสให้เราได้เงินมากขึ้นหรือไม่

เช่น ถ้าเราถือ ATo ในตำแหน่ง BB แล้ว SB All-in ใส่เราด้วยไพ่สุ่มๆมา เวลา Call ตรงนี้เราจะไม่สนว่าจะมีโอกาสได้ชิพเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ แต่เราอยากรู้แค่ว่า การ Call ตรงนี้ช่วยให้เรามีโอกาสได้เงินจากทัวร์นาเมนต์เพิ่มขึ้นไหม

เราก็คงไม่อยากเสี่ยงในสถานการณ์ที่โอกาสชนะเรามากกว่า 50% อยู่นิดหน่อยเพื่อแลกกับโอกาสในการได้เข้า In the Money หรอก ซึ่งตรงนี้แหละที่เราจะนำ ICM มาใช้เพื่อช่วยตัดสินใจว่าเราควรจะ Call All-in ด้วยไพ่แบบไหนถึงจะได้กำไรในระยะยาวเมื่อเข้าใกล้ช่วง Bubble

ตัวอย่างการใช้ ICM

สมมติเราเล่น $10+$1 SnG 10 คน ใน PokerStars เงินรางวัลรวม $100 โดยแบ่งจ่ายแค่ 3 อันดับคือ $50 $30 และ $20 ตามลำดับ โดยเอาตามตัวอย่างก่อนหน้านี้คือ มีผู้เล่นเหลือในโต๊ะ 4 คน และเราถือ ATo อยู่ BB

ระดับบลายด์ 100/200 แต่ละคนมีหน้าตักดังต่อไปนี้

  • (Hero BB) ผู้เล่น A – 2000
  • (SB) ผู้เล่น B – 2000
  • (BTN) ผู้เล่น C – 2500
  • (CO) ผู้เล่น D – 3500

ทุกคนหมอบจนมาถึง SB ซึ่ง All-in 2000 ชิพใส่ เราดันมีข้อมูลว่าคนนี้เล่นดุดันสุดๆโดยจะ All-in ด้วยไพ่อะไรก็ตามที่ได้มา เราลองมาหากันดีกว่าว่าควรจะ Call หรือ Fold  โดยหา 3 สิ่งนี้ก่อน

  • หาโอกาสชนะของไพ่เราเมื่อเจอกับ Range ไพ่อีกฝ่าย
  • พิจารณาความเปลี่ยนแปลงของเงินรางวัลที่เรามีโอกาสได้หากเราเลือก Call แล้วแพ้หรือชนะ หรือ เลือก Fold
  • หาว่าเงินรางวัลที่เรามีโอกาสได้เพิ่มมากขึ้นหรือไม่จากการ Call ครั้งนี้
1. หาโอกาสชนะของไพ่เราเมื่อเจอ Range ไพ่อีกฝ่าย

เริ่มด้วยเรื่องพื้นฐานก่อนเลยคือ โอกาสชนะของ ATo เมื่อเจอกับไพ่แบบสุ่มของอีกฝ่าย ถ้าลองนำไปใส่ใน PokerStove จะพบว่า เรามีโอกาสชนะถึง 62.7% เมื่อเจอกับ Range ไพ่แบบสุ่มของอีกฝ่าย

ICM
โอกาสชนะ ATo vs Range ไพ่แบบสุ่ม

เพราะฉะนั้น เราสามารถบอกได้ว่า

  • เรามีโอกาส 62.7% ที่จะเพิ่มหน้าตักเราให้เป็น 4000 ชิพ
  • เรามีโอกาส 37.3% ที่จะเสียชิพทั้งหมดไปและออกจากทัวร์นาเมนต์โดยไม่ได้อะไรเลย

การ Call ก็ดูจะเสี่ยงไม่ใช่น้อย เราลองไปดูกันในขั้นตอนต่อไปดีกว่าว่าเราจะได้กำไรจากการ Call ครั้งนี้ไหมในระยะยาว

2. พิจารณาความเปลี่ยนแปลงของเงินรางวัลที่เรามีโอกาสได้

การจะคำนวณหาว่าเงินรางวัลที่เรามีโอกาสได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างและจะเลือกตัดสินใจแบบไหนดีถึงจะได้กำไรที่สุด เราต้องพึ่งเครื่องมืออย่าง ICM Calculator และต้องหาองค์ประกอบอีก 3 อย่าง คือ

  1. เงินรางวัลที่เรามีโอกาสได้หากเรา Call ไปแล้ว ชนะ
  2. เงินรางวัลที่เรามีโอกาสได้หากเรา Call ไปแล้ว แพ้
  3. เงินรางวัลที่เรามีโอกาสได้หากเราเลือก Fold ให้กับ All-in นั้น

หากเรา Call แล้ว ชนะ

ถ้าเราเลือก Call แล้วชนะ หน้าตักเราจะเพิ่มเป็น 4000 และผู้เล่น B ต้องออกจากทัวร์นาเมนต์ เงินรางวัลที่เรามีโอกาสได้ตาม ICM Calculator ระหว่างผู้เล่นที่เหลือ 3 คน ก็จะเป็น

ผู้เล่น A : (4000 ชิพ) = $35.49 – เงินรางวัลที่เรามีโอกาสได้หากเราเลือก Call แล้วชนะ

ผู้เล่น B: (0 ชิพ) = $0

ผู้เล่น C: (2500 ชิพ) = $30.51

ผู้เล่น D: (3500 ชิพ) = $34

หากเรา Call แล้ว แพ้

ถ้าเราแพ้และออกจากทัวร์นาเมนต์ แน่นอนว่าเงินรางวัลที่เรามีโอกาสได้ก็จะเป็น $0

ผู้เล่น A : (0 ชิพ) = $0 – เงินรางวัลที่เรามีโอกาสได้หากเราเลือก Call แล้วแพ้

ผู้เล่น B: (4000 ชิพ) = $35.49

ผู้เล่น C: (2500 ชิพ) = $30.51

ผู้เล่น D: (3500 ชิพ) = $34

หากเรา Fold

ถ้าเราหมอบ เงินรางวัลที่เรามีโอกาสได้ก็จะลดลงหน่อย เพราะ 200 ชิพที่เราต้องเสียไปจากการจ่ายค่า Big Blind

ผู้เล่น A : (1800 ชิพ) = $20.29 – เงินรางวัลที่เรามีโอกาสได้หากเราเลือก Fold ให้กับ All-in

ผู้เล่น B: (2200 ชิพ) = $23.48

ผู้เล่น C: (2500 ชิพ) = $25.5

ผู้เล่น D: (3500 ชิพ) = $30.73

3.หาว่าเงินรางวัลที่เรามีโอกาสได้เพิ่มมากขึ้นหรือไม่จากการ Call ครั้งนี้

จากที่ดูมาคิดว่าเราตัดสินใจแบบไหนถึงจะได้กำไรที่สุด เลือก Call หรือ Fold

ถ้าเรา Fold เงินที่เรามีโอกาสได้จะลดเหลือ $20.29

ถ้าเรา Call มีโอกาส 63% ที่เงินรางวัลที่เรามีโอกาสได้จะเพิ่มเป็น $35.49 และอีก 37% ที่เหลือจะทำให้เรามีโอกาสได้เงินรางวัลเหลือ $0 ซึ่งถ้าเราลองนำไปคำนวณต่อ เราจะได้ดังนี้

เงินรางวัลที่เรามีโอกาสได้รวม = (0.63 * 35.49) + (0.37*0) = $22.36

เมื่อนำมาเปรียบเทียบ

  • Fold = $20.29
  • Call = $22.36

จากที่เห็น ถ้าเราเลือก Call All-in เรามีเงินรางวัลที่เรามีโอกาสได้รวมเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น การใช้ ATo Call All-in เมื่อเจอกับ Range ไพ่แบบสุ่มตรงนี้จะทำให้เราได้กำไรในระยะยาวมากกว่าการหมอบ ถึงจะได้เพิ่มมาแค่ $2.07 ก็เถอะ ซึ่งทำให้ตรงนี้แหละที่การ Call ยังเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในสถานการณ์นี้อยู่

จำไว้เป็นกฎง่ายๆว่า

  • ถ้า Call แล้วเงินรางวัลรวมที่เรามีโอกาสได้ลดลง เลือก Fold แทนดีกว่า
  • ถ้า Call แล้วเงินรางวัลรวมที่เรามีโอกาสได้เพิ่มขึ้น เลือก Call นี่แหละถูกแล้ว

สรุปวิธีใช้ ICM ในทัวร์นาเมนต์

พออ่านจนจบหลายคนก็คงคิดแล้วว่า ยากขนาดนี้จะไปคำนวณระหว่างเล่นได้ยังไง ซึ่งก็ใช่ครับ เราไม่สามารถคำนวณระหว่างเล่นได้ แต่การเรียนรู้ไว้ก็ดีกว่าไม่รู้อะไรเลย

การใช้ ICM เพื่อมาช่วยในการตัดสินใจจะเหมาะกับการวิเคราะห์หลังเกมมากกว่าและจะช่วยคุณในการวิเคราะห์สถานการณ์ Risk / Reward ในช่วงใกล้ Bubble ได้ดี จริงๆทฤษฎีนี้ก็มาจากเรื่องทั่วๆไปที่เราคิดกันว่า “ไพ่แบบนี้มันคุ้มที่จะเสี่ยงในสถานการณ์นี้หรือเปล่า” นั่นแหละ หากคุณฝึกใช้ให้คุ้นชินและเจอสถานการณ์เดิมบ่อยๆ คุณจะเล่นได้ถูกต้องและไม่กดดันเมื่อเจอสถานการณ์ยากๆ

 

Source

แสดงความเห็น